เมนู

ครวญอยู่ว่า " เหตุอะไรหนอ ? จักมี " ได้ทราบว่า " พรุ่งนี้บุตรเศรษฐี
จักยืนบนปลายไม้เป็น ด้วยหวังว่า " จักแสดงศิลปะ ' มหาชนจักประชุม
กันเพื่อดูเขา, เราจักแสดงคาถาประกอบด้วยบท 4 ในสมาคมนั้น; การ
บรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์ 84,000 เพราะฟังธรรมนั้น, แม้อุคคเสนก็จัก
ตั้งอยู่ในพระอรหัต."
ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงกำหนดเวลาแล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ฝ่ายอุคคเสน เมื่อพระศาสดา
ยังไม่ทันเสด็จเข้าไปภายในพระนครนั่นแล จึงให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่
มหาชน เพื่อต้องการให้เอิกเกริก ยืนบนปลาไม้แป้นหกคะเมนในอากาศ
นั่นเองสิ้น 7 ครั้ง ลงมาแล้วได้ยืนบนปลายไม้เป็นอีก.

อุคคเสนแสดงศิลปะแก่พระมหาโมคคัลลานะ


ขณะนั้น พระศาสดากำลังเสด็จไปสู่พระนคร, ทรงกระทำโดย
อาการที่บริษัทไม่แลดูเขา, ให้ดูเฉพาะพระองค์เท่านั้น. อุคคเสนแลดู
บริษัทแล้ว ถึงความเสียใจว่า " บริษัทจะไม่แลดูเรา " จึงคิดว่า " ศิลปะ
นี้เราพึ่งแสดง (ประจำ) ปี, ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระนคร
บริษัทไม่แลดูเรา แลดูแต่พระศาสดาเท่านั้น; การแสดงศิลปะของเรา
เปล่า (ประโยชน์) แล้วหนอ."
พระศาสดาทรงทราบความคิดของเขา จึงตรัสเรียกพระมหาโมค-
คัลลานะมาแล้ว ตรัสว่า "โมคคัลลานะ เธอจงไป, พูดกะบุตรเศรษฐีว่า
" นัยว่า ท่าน1จงแสดงศิลปะ" พระเถระไปยืนอยู่ ณ ภายใต้ไม้แป้นนั่นแล
เรียกบุตรเศรษฐีมาแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-
1. คำว่า ' ท่าน ' ในที่นี้ เป็นปฐมบุรุษ.

" เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก
เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด,
เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า " พระ-
ศาสดามีพระประสงค์จะดูศิลปะของเรา " จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าว
คาถานี้ว่า :-
" เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มี
ฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู, กระผมจะทำความยินดีแก่
บริษัท, จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่
อากาศ หกคะเมน 14 ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น
(ตามเดิม).
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิต
ต้องละความอาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันเสียแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า:-
6. มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต
มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู
สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ.
" ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง

(อาลัย) ข้างหลังเสีย, จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่าม-
กลางเสีย, จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นใน
ธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มุญฺจ ปุเร ความว่า จงเปลื้อง
อาลัย คือความยินดี หมกมุ่น ปรารถนา ขลุกขลุ่ย ความถือ ลูบคลำ
ความอยาก ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอดีตเสีย.
บทว่า ปจฺฉโต ความว่า จงเปลื้องอาลัยเป็นต้น ในขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นอนาคตเสีย.
บทว่า มชฺเฌ ความว่า จงเปลื้องอาลัยเหล่านั้น ในขันธ์ทั้งหลาย
แม้ที่เป็นปัจจุบันเสีย.
สองบทว่า ภวสฺส ปารคู ความว่า เมื่อปฏิบัติได้อย่างนั้น จักเป็น
ผู้ถึงฝั่ง คือไปแล้วสู่ฝั่งแห่งภพแม้ทั้ง 3 อย่างได้ ด้วยอำนาจแห่งอัน
กำหนดรู้ ละ เจริญ และทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง มีใจพ้นแล้วใน
สังขตธรรมทั้งปวง ต่างด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้นอยู่ ต่อไปไม่
ต้องเข้าถึงชาติ ชรา และมรณะ.
ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง 84,000 แล้ว.

อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท


ฝ่ายบุตรเศรษฐี กำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวาย
บังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. ลำดับนั้น